ลัทธิ (Doctrine) คือคำสั่งสอน ที่มีผู้เชื่อถือและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ลัทธิคอมมิวนิสต์ (อังกฤษCommunism) เป็นขบวนการปฏิบัติสังคมนิยมเพื่อสถาปนาระเบียบสังคมที่ปราศจากชนชั้น เงินและรัฐ โดยตั้งอยู่บนการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน เช่นเดียวกับอุดมการณ์ทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจซึ่งมุ่งสถาปนาระเบียบสังคมนี้ ขบวนการดังกล่าว ในการตีความแบบลัทธิมากซ์-เลนิน มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อประวัติศาสตร์คริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีการแข่งขันกันดุเดือดระหว่าง "โลกสังคมนิยม" (อันเป็นรัฐสังคมนิยมที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์) และ "โลกตะวันตก" (ประเทศซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม)
ทฤษฎีลัทธิมากซ์ถือว่า คอมมิวนิสต์บริสุทธิ์หรือคอมมิวนิสต์สมบูรณ์เป็นขั้นของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โดยเจาะจงที่ถือกำเนิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการพัฒนากำลังการผลิตซึ่งนำไปสู่ความมั่งคั่งทางวัตถุที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อให้การแจกจ่ายยึดความต้องการและความสัมพันธ์ทางสังคมยึดตามปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างเสรี[1][2] นิยามที่แน่ชัดของคอมมิวนิสต์แตกต่างกัน และมักถูกเข้าใจผิด ในวจนิพนธ์การเมืองทั่วไป ว่าใช้แทนคำว่าสังคมนิยม ได้ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีลัทธิมากซ์ยืนยันว่า สังคมนิยมเป็นเพียงขั้นเปลี่ยนผ่านบนวิถีสู่คอมมิวนิสต์ ลัทธิเลนินเพิ่มแนวคิดพรรคการเมืองแนวหน้าเพื่อนำการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และเพื่อยึดอำนาจทางการเมืองทั้งหมดหลังการปฏิวัติเพื่อชนชั้นกรรมกร เพื่อการพัฒนาความตระหนักของชนชั้นทั่วโลกและการมีส่วนร่วมของกรรมกร ในขั้นเปลี่ยนผ่านระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม
ปัจจุบัน คอมมิวนิสต์มักใช้เรียกนโยบายของรัฐคอมมิวนิสต์ นั่นคือ รัฐที่ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าสาระของระบบเศรษฐกิจในทางปฏิบัติแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น นโยบายของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งระบบเศรษฐกิจรวมไปถึง "โด่ย เหมย" (Doi Moi) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งระบบเศรษฐกิจเป็น "เศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม" และระบบเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต ซึ่งอธิบายได้ว่าเป็น "ทุนนิยมโดยรัฐ" โดยนักสังคมนิยมที่มิใช่ลัทธิเลนิน และภายหลังโดยนักคอมมิวนิสต์ผู้คัดค้านแบบจำลองโซเวียตยุคหลังสตาลินมากขึ้น ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 (เช่น ลัทธิเหมา ลัทธิทร็อตสกี และคอมมิวนิสต์อิสรนิยม และแม้กระทั่งตัววลาดีมีร์ เลนินเอง ในจุดหนึ่ง[3]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น