ลัทธิ (Doctrine) คือคำสั่งสอน ที่มีผู้เชื่อถือและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (อังกฤษMarxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ คือทฤษฎีสังคม และการเมือง ที่มีพื้นฐานมาจากผลงานของคาร์ล มากซ์ และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์มีอิทธิพลอย่างสูงต่อลัทธิคอมมิวนิสต์(Communism) และยังมีอิทธิพลต่อวงวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy), มากซ์สายใหม่ (Neo-Marxism), สำนักวัฒนธรรมศึกษาเบอร์มิงแฮม (The Birmingham School), สำนักวัฒนธรรมศึกษาแฟรงก์เฟิร์ต (The Frankfürt School) รวมไปถึงอิทธิพลบางส่วนที่มีต่อลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodern)
อนึ่งนอกจากคำว่า "ลัทธิมากซ์" และ "มาร์กซิสต์" ที่เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานซึ่งใช้แปลความคำว่า Marxism แล้ว นอกจากศัพท์บัญญัติดังกล่าวยังมีการเขียนทับศัพท์อย่างอื่นด้วย อาทิ ลัทธิมาร์กซ์ ลัทธิมาร์คซ์ ลัทธิมาคซ์ ลัทธิมาร์กซ ลัทธิมากรซ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้สมควรบัญญัติคำว่า "มาร์กซิสม์" ใช้แทนคำว่า Marxism เนื่องจากคำนี้แปลว่า "ตระกูลความคิดแบบมากซ์ เพื่อให้มีความแตกต่างจากคำว่า Marxist ที่สมควรบัญญัติว่า "มาร์กซิสต์" โดยแปลว่า "นักคิดตระกูลมาร์กซิสต์" 

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ลัทธิคอมมิวนิสต์ (อังกฤษCommunism) เป็นขบวนการปฏิบัติสังคมนิยมเพื่อสถาปนาระเบียบสังคมที่ปราศจากชนชั้น เงินและรัฐ โดยตั้งอยู่บนการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน เช่นเดียวกับอุดมการณ์ทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจซึ่งมุ่งสถาปนาระเบียบสังคมนี้ ขบวนการดังกล่าว ในการตีความแบบลัทธิมากซ์-เลนิน มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อประวัติศาสตร์คริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีการแข่งขันกันดุเดือดระหว่าง "โลกสังคมนิยม" (อันเป็นรัฐสังคมนิยมที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์) และ "โลกตะวันตก" (ประเทศซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม)
ทฤษฎีลัทธิมากซ์ถือว่า คอมมิวนิสต์บริสุทธิ์หรือคอมมิวนิสต์สมบูรณ์เป็นขั้นของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โดยเจาะจงที่ถือกำเนิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการพัฒนากำลังการผลิตซึ่งนำไปสู่ความมั่งคั่งทางวัตถุที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อให้การแจกจ่ายยึดความต้องการและความสัมพันธ์ทางสังคมยึดตามปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างเสรี[1][2] นิยามที่แน่ชัดของคอมมิวนิสต์แตกต่างกัน และมักถูกเข้าใจผิด ในวจนิพนธ์การเมืองทั่วไป ว่าใช้แทนคำว่าสังคมนิยม ได้ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีลัทธิมากซ์ยืนยันว่า สังคมนิยมเป็นเพียงขั้นเปลี่ยนผ่านบนวิถีสู่คอมมิวนิสต์ ลัทธิเลนินเพิ่มแนวคิดพรรคการเมืองแนวหน้าเพื่อนำการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และเพื่อยึดอำนาจทางการเมืองทั้งหมดหลังการปฏิวัติเพื่อชนชั้นกรรมกร เพื่อการพัฒนาความตระหนักของชนชั้นทั่วโลกและการมีส่วนร่วมของกรรมกร ในขั้นเปลี่ยนผ่านระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม
ปัจจุบัน คอมมิวนิสต์มักใช้เรียกนโยบายของรัฐคอมมิวนิสต์ นั่นคือ รัฐที่ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าสาระของระบบเศรษฐกิจในทางปฏิบัติแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น นโยบายของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งระบบเศรษฐกิจรวมไปถึง "โด่ย เหมย" (Doi Moi) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งระบบเศรษฐกิจเป็น "เศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม" และระบบเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต ซึ่งอธิบายได้ว่าเป็น "ทุนนิยมโดยรัฐ" โดยนักสังคมนิยมที่มิใช่ลัทธิเลนิน และภายหลังโดยนักคอมมิวนิสต์ผู้คัดค้านแบบจำลองโซเวียตยุคหลังสตาลินมากขึ้น ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 (เช่น ลัทธิเหมา ลัทธิทร็อตสกี และคอมมิวนิสต์อิสรนิยม และแม้กระทั่งตัววลาดีมีร์ เลนินเอง ในจุดหนึ่ง[3]

ลัทธิซาตาน

ลัทธิซาตาน (อังกฤษSatanism) เป็นคำอย่างกว้างที่กล่าวถึงขบวนการทางสังคมขนาดใหญ่ที่มีอุดมการณ์และความเชื่อทางปรัชญาที่หลากหลาย ลักษณะที่พบร่วมกัน คือ ความเกี่ยวข้องหรือความศรัทธาเชิงสัญลักษณ์ต่อซาตาน ซึ่งนักลัทธิซาตานมองว่าเป็นภาพลักษณ์ของการปลดปล่อย ก่อนหน้านั้นมีลักษณะเป็นองค์กรลับๆ มาเริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน ปี พ.ศ. 2509 ในชื่อ โบสถ์ของซาตาน ในปี พ.ศ. 2533 คาดว่ามีผู้บูชาซาตานจำนวน 50,000 คน และอาจมีมากที่สุดถึง 100,000 คนทั่วโลก แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ แบบเชื่อในพระเจ้า กับ แบบไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง

ลัทธินีโอนาซี

นีโอนาซี (อังกฤษNeo-Nazism) คือลัทธิที่เคลื่อนไหวหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อฟื้นคืนลัทธินาซี ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว สมาชิกกลุ่มคนเหล่านี้มักเป็นกลุ่มคนผิวขาว (คอเคซอยด์) เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ยังมีความเชื่อที่ว่าคนผิวขาวเป็นใหญ่เหนือเผ่าพันธุ์อื่นๆ สืบมาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของนาซี
นโยบายของลัทธินีโอนาซีมีความแตกต่างกันไป แต่มักสวามิภักดิ์ต่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์, เหยียดเชื้อชาติต่างๆ, เหยียดสีผิว, เทิดทูนคนอารยันเยอรมัน, เหยียดเกย์ เหยียดยิว สลาฟ ฯลฯ
พวกเขามักใช้สัญลักษณ์เป็นสวัสดิกะ มีบางประเทศในทวีปยุโรปมีกฎหมายห้ามลัทธินาซี การเหยียดผิว การเหยียดเชื้อชาติ กลุ่มนีโอนาซีจะพบแถวชายแดนระหว่างประเทศที่ติดกับเยอรมัน โดยเฉพาะในรัสเซียพบมากที่สุดในกรุงมอสโก เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายของบุคคลกลุ่มนี้ได้แก่ ชนชาติที่เป็นต่างชาติและที่มีอยู่ในรัสเซียอยู่แล้วเช่น ยิว สลาฟ เอเชีย ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส แอฟริกันอเมริกัน ลูกครึ่ง รัสเซียและกลุ่มชนชาติต่างๆ ที่อยู่ในรัสเซียและมาจากต่างประเทศ ชาวรัสเซียคนหนึ่งบอกว่า ที่ประเทศเขามีประชากรเป็นรัสเซีย 81% ต่างชาติ 19% อาทิ ยิว สลาฟ ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส เยอรมัน ฯลฯ เขาบอกว่าพวกนีโอนาซีจะเป็นพวกเยอรมันที่อยู่ในรัสเซียที่เป็นชุมชนเยอรมัน เขายังบอกอีกว่าชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศเขาที่ไม่ใช้เยอรมันมักถูกทำร้ายจนตายทั้งที่มาจากต่างประเทศและชนชาติกลุ่มต่างๆ ในรัสเซียที่ไม่ใช่เยอรมัน
มีนีโอนาซีบางกลุ่มพยายามที่จะรื้อฟื้นลัทธินี้ อาทิ Colin JordanGeorge Lincoln RockwellSavitri DeviFrancis Parker YockeyWilliam Luther PierceEddy Morrison และ David Myatt
นีโอนาซีมักจะโกนหัว ชื่อของทรงผมสกินเฮดที่เรียกชื่อกันอยู่นั้นมีต้นกำเนิดมาจากพวกนี้ เชื่อว่าคนขาวที่เป็นเยอรมันเป็นเผ่าพันธุ์ที่ดีที่สุด แต่งกายคล้ายพังก์ สักลาย สวัสดิกะ หรือ สัญลักษณ์นาซีไว้ที่ตัว บูชา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, แฮร์มันน์ เกอริงไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ บ้างไล่ตระเวนไล่ทำร้ายชาวต่างชาติ เช่น ยิว สลาฟ เอเชีย ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส นิโกร ลูกครึ่ง รัสเซีย สเปน กรีก อิตาลี และกลุ่มชนชาติต่างๆ ซึ่งอาจรวมอังกฤษด้วย
สมาชิกนีโอนาซีส่วนมากมักจะเป็นคนเชื้อสายเจอร์แมนิกในหลายประเทศ ได้แก่ เยอรมนีสวีเดนเดนมาร์กนอร์เวย์สหราชอาณาจักรไอซ์แลนด์ออสเตรียสวิตเซอร์แลนด์เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม ส่วนเขตอิทธิพลของนีโอนาซีในประเทศอื่นๆ ได้แก่ รัสเซียโครเอเชียฝรั่งเศสเซอร์เบียบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเอสโตเนียฮังการีกรีซยูเครนตุรกีอิสราเอลซีเรียมองโกเลียพม่าไต้หวันเซอร์เบียสหรัฐอเมริกาแคนาดา,คอสตาริกาบราซิล และชิลี

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลัทธิไศเลนทร์หรือเทวราชา

ลัทธิไศเลนทร์นี้เข้าใจว่าจะเริ่มต้นขึ้นที่เกาะชวา แล้วแผ่มายังกัมพูชา เป็นลัทธิที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ เป็นเทวราชหรือเป็นเทพเจ้า มิใช่มนุษย์อย่างพระมหากษัตริย์ไทยที่กรุงสุโขทัย ด้วยเหตุนี้ในหนังสือเก่าๆ แห่ง ภาคอีสานซึ่งครั้งหนึ่งเคยขึ้นอยู่ในมหาอาณาจักรเขมรจะพบว่า ศัพท์ที่ใช้เรียกพระมหากษัตริย์เขมรนั้นคือ “ผีฟ้าเมืองยโสธร” คำว่า ผีฟ้า ในภาษาไทยแปลว่าเทพหรือเทพเจ้า ส่วนเมืองยโสธรคือเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวง ของเขมรในสมัยหนึ่ง
ลัทธิเทวราชหรือไศเลนทร์
ลัทธิเทวราชหรือไศเลนทร์นั้นมีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน เทวราชก็หมายความว่าราชาหรือองค์พระมหากษัตริย์เป็นเทวะ ส่วนคำว่า ไศเลนทร์ นั้น มาจากคำว่า ไศล คำหนึ่ง และ อินทร์ คำหนึ่ง แปลว่าผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขาหรือบนภูเขา ซึ่งหมายความถึงพระศิวะผู้ซึ่งสถิตอยู่ บนยอดเขาไกรลาส เมื่อถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นเทพเจ้า ก็เทียบได้กับองค์พระศิวะ พระมหากษัตริย์จึงเป็นองค์ไศเลนทร์
ลัทธินี้พราหมณ์ในศาสนาฮินดูซึ่งเดินทางจากประเทศอินเดียมายังประเทศต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ได้เป็นผู้นำเข้ามาเผยแผ่ ในขั้นแรกพระมหากษัตริย์ในประเทศต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์นั้นยังมีสภาพเป็นมนุษย์มีหน้าที่คอยปฏิบัติ บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งอยู่บนภูเขานอกเมืองเพื่อจะให้คุ้มครอง เมืองมิให้เกิดภัยอันตราย พระขพุงผีที่สถิตอยู่บนภูเขานอก เมืองสุโขทัยนั้นเป็นตัวอย่างที่แลเห็นได้ชัด พราหมณ์นั้นมี สิ่งศักดิ์สิทธิ์บนภูเขาอยู่แล้วได้แก่พระศิวะ เมื่อเข้ามาเผยแผ่ ศาสนาฮินดูในเอเชียอาคเนย์ก็รับเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนภูเขา ซึ่งมีอยู่ทั่วไปนั้นว่าเป็นองค์พระศิวะ และเพื่อให้มีกำลังสนับสนุนในการเผยแผ่ศาสนา พราหมณ์ก็ได้ให้ความศักดิ์ สิทธิ์แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ในที่ต่างๆ โดยกระทำพิธี
 

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รากลัทธิของครูทั้ง 6 จัดว่าเป็นลัทธิร่วมพุทธกาล

ลัทธิของครูทั้ง   6  จัดว่าเป็นลัทธิร่วมพุทธกาล  มีหลักฐานปรากฏในสามัญผลสูตรที่กล่าวถึงครูทั้ง  6   ว่า...
เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูได้ครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าพิมพิสารผู้ราชบิดาอยู่มาวันหนึ่งทรงมีความประสงค์จะสนทนากับสมณพราหมณ์   ในปัญหาเรื่องการบวชมีผลเป็นที่ประจักษ์อย่างไร      ได้เสด็จถามปัญหาดังกล่าวกับครูทั้ง  6    และได้รับคำตอบไม่เป็นที่พอพระทัย  เพราะเป็นการถามปัญหาอย่างหนึ่งและตอบเสียอีกอย่างหนึ่ง   ทรงนำคำตอบในลัทธิของครูทั้ง  6  มาตรัสเล่าถวายพระพุทธเจ้า  ข้อความพิสดารมีปรากฏในสามัญญผลสูตร   ครูทั้ง   6  นั้นมีนามปรากฏ  ดังนี้  คือ

1.  ปูรณกัสสปะ

2.  มักขลิโคศาล

3.  อชิตเกสกัมพล

4.  ปกุธกัจจายนะ

5.  สญชัยเวลัฏฐบุตร

6.  นิครนถนาฏบุตร


 1.  ทรรศนะของปูรณกัสสปะ

ปูรณกัสสปะ  เป็นเจ้าลัทธิเก่าแก่ผู้หนึ่ง   มีความเห็นว่า   วิญญาณเป็นสิ่งไร้กัมมันตภาพเป็นสิ่งเที่ยงแท้ถาวร  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ร่างกายนี้เองเป็นเจ้าของพฤติกรรม  วิญญาณไม่เกี่ยวข้องกับกรรมดีกรรมชั่วที่ร่างกายทำ  แต่ร่างกายก็เป็นสิ่งที่ไร้เจตนา   ดังนั้น  เมื่อร่างกายทำสิ่งใด  ๆ   ลงไป  จึงไม่จัดเป็นบุญบาปแต่อย่างใด   บุคคลไม่จัดว่าได้ทำบุญเมื่อให้ทาน  เป็นต้น   และไม่จัดว่าได้ทำบาป  เมื่อฆ่าสัตว์   ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม   หรือพูดปด
พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะของปูรณกัสสปะว่า   “อกิริยวาท ”  แปลว่า  “กล่าวการทำว่าไม่เป็นอันทำ”
เป็นทรรศนะที่ปฏิเสธพลังงาน   ปฏิเสธกรรมไปด้วยพร้อมกัน  ผู้มีทรรศนะดังกล่าวนี้เรียกว่า “อกิริยวาที”   แปลว่า  “ผู้กล่าวการทำว่าไม่เป็นอันทำ”  ขัดแย้งกับหลักกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง   เพระพระพุทธศาสนาสอนหลักกรรมว่า  สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม   ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี  ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว  และถือว่าเป็นหลักเหตุผลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง


...........................................................

--->>  2.  ทรรศนะของมักขลิโคศาล


กล่าวกันว่า  มักขลิโคศาลเป็นเจ้าลัทธิฝ่าย  อาชีวก   วันหนึ่งเห็นต้นข้าวที่คนเหยียบย่ำแล้วกลับงอกงามขึ้นมาอีก   จึงเกิดความคิดว่า   “สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว   จะต้องกลับมีวิญญาณขึ้นมาอีก  ไม่ตายไม่สลาย” และถือว่า  “สัตว์ทั้งหลายขึ้นอยู่กับกระบวนการที่ได้กำหนดไว้แล้ว”  กระบวนการดังกล่าว   เริ่มต้นจากระดับต่ำสุดไปหาจุดหมายที่สูงสุด เป็นกระบวนการที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง   เช่นเดียวกับความร้อนมีระดับต่ำเป็นน้ำแข็ง  และมีระดับสูงเป็นไฟ

มักขลิโคศาลปฏิเสธกรรมและพลังความเพียรว่าเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย   สัตว์ทั้งหลายไม่ต้องทำความเพียร  และไม่ต้องทำความดีเพื่ออะไร  เพราะการบรรลุโมกษะไม่ได้สำเร็จด้วยความเพียรหรือด้วยกรรมใด  ๆ   สัตว์จะต้องเวียนว่ายตายเกิดจากภพสู่ภพไปโดยลำดับ   เมื่อถึงภพสุดท้ายก็จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้เอง   ความบริสุทธิ์ประเภทนี้เรียกว่า   “สังสารสุทธิ”   คือความบริสุทธิ์ที่ได้จากการเวียนว่ายตายเกิด   กระบวนการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์    เช่นเดียวกับการคลี่เส้นด้ายออกจากกลุ่ม   เมื่อจับปลายเส้นด้ายด้านนอกแล้วปากกลุ่มด้ายไป   กลุ่มด้ายจะคลี่ออกจนถึงปลายด้านใน  ปลายสุดด้านในของเส้นด้ายนั่นเอง   เปรียบเหมือนความบริสุทธิ์ของสัตว์  หรือที่เรียกว่าโมกษะ
............................................................


--->>  3.  ทรรศนะของอชิตเกสกัมพล


ทรรศนะของอชิตเกสัมพล  ตรงกับปรัชญาในยุคหลังคือวัตถุนิยม   เป็นทรรศนะที่ปฏิเสธว่า   ไม่มีสัตว์   ไม่มีบุคคลใด   ๆ   ทั้งสิ้น  ไม่มีชาติหน้า   ไม่มีบุญ   ไม่มีบาป   ปฏิเสธกรรมดีกรรมชั่ว  ปฏิเสธพิธีกรรมทางศาสนาว่าไร้ผล   ปฏิเสธความสมบูรณ์ทางจิต   ไม่มีใครทำดีไม่มีใครทำชั่ว   เพราะสัตว์ประกอบด้วยธาตุ  4  คือ   ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ   จึงไม่มีสัตว์ใด  ๆ    คงมีแต่กลุ่มธาตุ  ชาตินี้ของสัตว์สิ้นสุดลงที่การตาย  ไม่มีอะไรเหลืออีกหลังจากตาย
ธาตุทั้งหลายเหล่านั้นทำหน้าที่ผลิตวิญญาณขึ้นมา    เมื่อธาตุเหล่านั้นแยกจากกันสัตว์ก็สิ้นสุดกันแค่นั้น   ไม่มีความดีความชั่ว   ไม่มีโลกหน้าชาติหน้าต่อไปอีก   ไมมีสวรรค์หรือโลกทิพย์ที่ไหนอีก   ไม่มีพระเจ้า    โลกนี้ดำรงอยู่โดยตัวเอง   วิญญาณและเจตนาของสัตว์เกิดจากธาตุ  เช่นเดียวกับสุราที่เกิดจากการหมักดองเครื่องปรุง   เมื่อทุกอย่างสิ้นสุดลงที่ความตายจึงไม่จำเป็นต้องทำบุญเพื่อเป็นเสบียงไปชาติหน้า   ทรรศนะนี้ปฏิเสธคัมภีร์พระเวทอย่างรุนแรง  เป็นทรรศนะที่ชี้แนะว่า  สัตว์จะแสวงหาความสุขแก่ตนด้วยวิธีใด  ๆ ก็ได้  ไม่ต้องทำสิ่งที่เคยเชื่อกันมาว่าจะอำนวยความสุขในชาติหน้า    เพราะวิญญาณคือร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง
พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะนี้ว่า  “นัตถิกวาท”  แปลว่า  “กล่าวว่าไม่มีสัตว์บุคคล”
ทรรศนะของอชิตเกสกัมพล  ตรงกับปรัชญาจารวากหรือวัตถุนิยม   ยอมรับค่านิยมทางกามสูขเท่านั้น   ไม่มีค่านิยมใด  ๆ   อีกที่เหมาะสมของมนุษย์   จึงเป็นทรรศนะที่ถูกตำหนิจากปรัชญาอื่นอย่างมาก


**************************************************************************
คำอธิบายสามัญญผลสูตรกล่าวว่า   เจ้าลัทธิทั้ง  3   ดังกล่าวแล้วนั้น


-->  ปูรณกัสปะกล่าวว่า   เมื่อบุคคลทำบาป  ไม่ชื่อว่าเป็นทำบาป  จัดว่าเป็นการปฏิเสธกรรม  


-->  เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพลกล่าวว่า     สัตว์ทั้งหลายตายแล้วหมดสิ้นกัน  ไม่มีอะไรไปเกิดอีก  
จัดว่าเป็นการปฏิเสธผลของกรรม-->  เจ้าของลัทธิมักขลิโคศาลกล่าวว่า   สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ   ไม่มีปัจจัย   เศร้าหมองเองมีความบริสุทธิ์ได้เอง   จัดว่าเป็นการปฏิเสธทั้งกรรมและผลของกรรม




เจ้าลัทธิปูรณกัสสะปะแม้ปฏิเสธแต่กรรม  ก็จัดว่าปฏิเสธผลของกรรมไปด้วย


เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพลเมื่อปฏิเสธผลของกรรมก็เป็นการปฏิเสธกรรมไปด้วยแล้ว


เพราะฉะนั้น     โดยความหมายแล้ว   เจ้าลัทธิทั้ง  3 จัดว่าเป็นทั้ง  อกิริยาวาทอเหตุ  และนัตถิกวาท  เหมือน ๆ กัน  เพราะปฏิเสธทั้งกรรมและผลกรรม



-->>
ฏีกาสามัญญผลสูตรกล่าวว่า...เจ้าลัทธิปูรณกัสสปะจัดว่าปฏิเสธกรรม  เพราะกล่าวการทำว่าไม่เป็นอันทำ


เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพลจัดว่าปฏิเสธผลกรรม    เพราะถือว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีกต่อไป


เจ้าลัทธิมักขลิโคศาลจัดว่าปฏิเสธทั้งกรรมและผลกรรม   เพราะเมื่อทำการปฏิเสธเหตุก็เท่ากับปฏิเสธผลไปด้วยกัน   เมื่อปฏิเสธเหตุของความเศร้าหมองและความบริสุทธิ์  ก็เป็นการปฏิเสธผลกรรมเสียแล้วด้วย   เมื่อกรรมไม่มีผลกรรมก็ต้องไม่มีด้วย  หรือเมื่อผลกรรมไม่มี  ก็ต้องสืบเนื่องมาจากกรรมไม่มี



-->> คำอธิบายคัมภีร์  เอกนิบาต   อังคุตตรนิกาย   กล่าวว่า...

มิจฉาทิฐิบางอย่างห้ามทั้งสวรรค์และมรรค

บางอย่าง ห้ามแต่มรรคอย่างเดียว  ไม่ห้ามสวรรค์

บางอย่างไม่ห้ามทั้งมรรค และสวรรค์

มิจฉาทิฐิ  3  อย่างคือ

อกิริยทิฐิ   และนัตถิกทิฐิ   ห้ามทั้งสวรรค์และมรรค

มิจฉาทิฐิถึงที่สุด   10  อย่าง คือการยึดถือว่า   โลกเที่ยง  เป็นต้น  จัดว่าห้ามแต่มรรคอย่างเดียว  เป็นความเห็นที่วิปริตจากทางของมรรค   แต่ไม่ห้ามสวรรค์เพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ

ส่วนสักกายทิฐิ  20  มีเห็นรูปว่าเป็นตน  เห็นตนว่าเป็นรูป  เห็นตนในรูป   เป็นต้น   เป็นการเห็นลักษณะ  4  อย่างในขันธ์  5  รวมเป็น   20  ไม่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรคเพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ   และเมื่อเกิดความรู้จัดแจ้งตามเป็นจริง  ก็บรรลุมรรคผลได้


...............................................................................................................................................


--->> 4. ทรรศนะของปกุธกัจจายนะ
ปกุธกัจจายนะเป็นนักพหุนิยมและวัตถุนิยม มีทรรศนะคล้ายกับอชิตเกสกัมพลโดยถือว่าสัตว์ประกอบด้วยธาตุทั้งหลาย ธาตุเหล่านั้นเป็นสิ่งที่มีความมั่นคง ไม่เป็นบ่อเกิดของสิ่งใด ๆ ได้อีก ไม่มีพฤติกรรมร่วมกับสิ่งใด ๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงไม่มีใครฆ่าใคร ไม่มีใครถูกฆ่า ไม่มีใครแสดงอะไรแก่ใคร ไม่มีใครสอน ไม่มีใครเรียน แม้ดาบจะผ่านร่างกายของสัตว์ไปก็ไม่จัดเป็นการทำบาป ไม่จัดเป็นการทำลายสัตว์เป็นเพียงดาบได้ผ่านกลุ่มธาตุที่ปรากฏเป็นร่างกายเท่านั้น ร่างกายนั้นเป็นกลุ่มของปรมาณูไม่มีสิ่งอื่นใดทุกอย่างสิ้นสุดลงพร้อมกับการตายของสัตว์นั้น ๆ
พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะนี้ว่า “อุจเฉทวาทะ” หรือ “อุจเฉททิฐิ” แปลว่า “เห็นว่าสูญสิ้น” คือไม่มีใคร ตายแล้วจึงไม่มีอะไรเหลืออยู่อีก อยู่ในฐานะเป็น นัตถิกทิฐิ คือ ปฏิเสธความเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นอเหตุกทิฐิ คือ ปฏิเสธเหตุของความเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ และเป็น อกิริยทิฐิ คือ ปฏิเสธการกระทำด้วย เพราะเมื่อปฏิเสธบุคคลอย่างเดียวแล้ว การกระทำจะมีได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ทรรศนะของเจ้าลัทธิปกุธกัจจายนะ จึงมีลักษณะกลมกลืนกับเจ้าลัทธิเหล่าอื่นที่กล่าวมาแล้ว
.........................................................................................................................................


--->> 5. ทรรศนะของสญชัยเวลัฏฐบุตร
ไม่ปรากฏชัดเจนว่า สญชัยถือทรรศนะใด ว่าเป็นสิ่งสูงสุด เพราะถือว่า สิ่งอันติมะเป็นสิ่งไม่สามารถกำหนดได้ สญชัยกล่าวถึงปัญหาบางอย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เช่น ปัญหาเรื่อง อาตมันเป็นสิ่งเดียวกับร่างกายหรือไม่ ? สัตว์ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่? ปัญหาเหล่านี้พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ โดยทรงแสดงเหตุผลว่าเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ แต่ทรงพยากรณ์ปัญหาต่าง ๆ ในกระบวนการของอริยสัจ 4
ในการตอบปัญหาต่าง ๆ สญชัยใช้หลักตรรกวิทยาเป็นเครื่องมืออย่างสำคัญจึงถูกวิจารณ์ว่าเป็น อมราวิกเขปิกะ คือ พูดซัดส่ายไปมาอย่างปลาไหล เป็นคนพูดจาไม่อยู่กับร่องรอยที่แน่นอน แต่ไม่จัดว่าเป็น อกิริยาวาทิน อย่าง 4 เจ้าลัทธิข้างต้น
-->> คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า สญชัยเป็นครูของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาและเบื้องซ้าย ของพระพุทธเจ้า พระอัครสาวกได้พยายามที่จะให้อาจารย์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่ออ้อนวอนไม่เป็นการสำเร็จ จึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก

...........................................................................................................................................




· เลขที่บันทึก: 215825
· สร้าง: 11 ตุลาคม 2551 17:38 · แก้ไข: 23 มิถุนายน 2555 12:07
· ผู้อ่าน: แสดง · ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 3 · สร้าง: ประมาณ 4 ปี ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ
  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/215825?