ลัทธิ (Doctrine) คือคำสั่งสอน ที่มีผู้เชื่อถือและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลัทธิไศเลนทร์หรือเทวราชา

ลัทธิไศเลนทร์นี้เข้าใจว่าจะเริ่มต้นขึ้นที่เกาะชวา แล้วแผ่มายังกัมพูชา เป็นลัทธิที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ เป็นเทวราชหรือเป็นเทพเจ้า มิใช่มนุษย์อย่างพระมหากษัตริย์ไทยที่กรุงสุโขทัย ด้วยเหตุนี้ในหนังสือเก่าๆ แห่ง ภาคอีสานซึ่งครั้งหนึ่งเคยขึ้นอยู่ในมหาอาณาจักรเขมรจะพบว่า ศัพท์ที่ใช้เรียกพระมหากษัตริย์เขมรนั้นคือ “ผีฟ้าเมืองยโสธร” คำว่า ผีฟ้า ในภาษาไทยแปลว่าเทพหรือเทพเจ้า ส่วนเมืองยโสธรคือเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวง ของเขมรในสมัยหนึ่ง
ลัทธิเทวราชหรือไศเลนทร์
ลัทธิเทวราชหรือไศเลนทร์นั้นมีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน เทวราชก็หมายความว่าราชาหรือองค์พระมหากษัตริย์เป็นเทวะ ส่วนคำว่า ไศเลนทร์ นั้น มาจากคำว่า ไศล คำหนึ่ง และ อินทร์ คำหนึ่ง แปลว่าผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขาหรือบนภูเขา ซึ่งหมายความถึงพระศิวะผู้ซึ่งสถิตอยู่ บนยอดเขาไกรลาส เมื่อถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นเทพเจ้า ก็เทียบได้กับองค์พระศิวะ พระมหากษัตริย์จึงเป็นองค์ไศเลนทร์
ลัทธินี้พราหมณ์ในศาสนาฮินดูซึ่งเดินทางจากประเทศอินเดียมายังประเทศต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ได้เป็นผู้นำเข้ามาเผยแผ่ ในขั้นแรกพระมหากษัตริย์ในประเทศต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์นั้นยังมีสภาพเป็นมนุษย์มีหน้าที่คอยปฏิบัติ บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งอยู่บนภูเขานอกเมืองเพื่อจะให้คุ้มครอง เมืองมิให้เกิดภัยอันตราย พระขพุงผีที่สถิตอยู่บนภูเขานอก เมืองสุโขทัยนั้นเป็นตัวอย่างที่แลเห็นได้ชัด พราหมณ์นั้นมี สิ่งศักดิ์สิทธิ์บนภูเขาอยู่แล้วได้แก่พระศิวะ เมื่อเข้ามาเผยแผ่ ศาสนาฮินดูในเอเชียอาคเนย์ก็รับเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนภูเขา ซึ่งมีอยู่ทั่วไปนั้นว่าเป็นองค์พระศิวะ และเพื่อให้มีกำลังสนับสนุนในการเผยแผ่ศาสนา พราหมณ์ก็ได้ให้ความศักดิ์ สิทธิ์แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ในที่ต่างๆ โดยกระทำพิธี